วัดแสนหลวง

“วัดแสนหลวง” เป็นวัดเก่าวัดแก่ ตั้งอยู่ในตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ บนถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ที่มีต้นยางเรียงรายอยู่สองข้างทาง….

R0029842w

จากเชียงใหม่ ถ้าเพื่อน ๆ ขับรถผ่านที่ทำการอำเภอสารภีไปอีกเล็กน้อย ก็จะเห็นวัดแสนหลวงอยู่ทางด้านซ้ายมือ…

R0029844w

วัดแสนหลวงสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๘ (ในสมัยพระเจ้ากาวิละ)  ถึงวันนี้ก็มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี เป็นวัดมหานิกาย มีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑  เว็บของเทศบาลตำบลยางเนิ้ง ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดแสนหลวงไว้ค่อนข้างละเอียดดังนี้…

ในรัชสมัยของพระเจ้าเมกุฏิวิสุทธิวงศ์ แห่งราชวงศ์เม็งราย องค์ที่ ๒๐ ได้เสียเมืองเชียงใหม่ให้แก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๐๒ และพระองค์ก็ได้ถูกจับตัวไปยังกรุงอังวะ นับจากนั้นล้านนาไทยก็อยู่ใต้อำนาจของพม่านานถึง ๒๑๖ ปี ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พญาจ่าบ้าน (บุญมา) ซึ่งเป็นน้าของพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกับพระเจ้ากาวิละนำทัพของพระเจ้าตากสินมหาราชเข้าตีเมืองเชียงใหม่ขับไล่พม่าออกไป แต่ก็หาความผาสุกไม่ได้เนื่องจากยังถูกพม่ายกทัพมารบกวนอยู่เสมอ ซ้ำร้ายยังขาดแคลนอาหารด้วย จึงอพยพผู้คนถอยร่นจากเมืองเชียงใหม่มาตั้งรับข้าศึกอยู่ที่ “เวียงหวาก” ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสารภี จากนั้นจึงปรึกษาหารือกันและเห็นชอบว่าควรจะสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่งเพื่อไว้บำเพ็ญกุศลของข้าราชการในราชสำนักและไพร่ฟ้าประชากร โดยมอบหมายให้พญาแสนหลวงเป็นสล่า (นายช่าง) ได้มีการออกแบบก่อสร้างวัดในปี พ.ศ. ๒๓๓๘ ตรงกับเดือน ๖ เหนือ ออก ๑๕ ค่ำ ยามใกล้รุ่ง ซึ่งอาราธนามหาเถรเจ้าจ่อคำต๊ะโรเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ พญาแสนหลวงเป็นหัวหน้าฝ่ายฆารวาส การก่อสร้างดำเนินงานไปเกือบจะเสร็จ ทางสล่าอยากได้เตียงไว้ในกุฏิให้พระสงฆ์ไว้นอน และอยากจะได้เตียงถวายเจ้าเหนือหัวด้วย จึงได้พากันไปตัดต้นยางต้นหนึ่งซึ่งในตำนานกล่าวว่าเป็นต้นไม้ใหญ่ขนาดสามคนโอบ มีลำต้นเอนไปทางทิศตะวันออก พอคณะช่างไปถึงต้นยางใหญ่ สล่าผู้เป็นหัวหน้าก็ยกขวานฟันลงที่ต้นยางนั้น ขณะนั้นเองก็เกิดอาเพศขึ้น ต้นยางใหญ่ต้นนั้นเกิดอาการสั่นสะเทือน และมีเสียงครางฮือๆ เหมือนได้รับความเจ็บปวดอย่างสาหัส พวกสล่าต่างพากันทิ้งเครื่องมือและหนีไปคนละทิศละทาง พญาแสนหลวงจึงสั่งให้ลูกน้องนำข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน เหล้าไห ไก่คู่ หมากเมี่ยง พูล ยา มาตั้งศาลเพียงตาทำพิธีบวงสรวง เสร็จแล้วจึงตัดต้นยางนั้นต่อ การก่อสร้างดำเนินงานจนเสร็จ และไม่นานนักพญาแสนหลวงก็ถึงแก่อนิจกรรมลงและอีกเพียง ๓ วัน มหาเถรเจ้าจ่อคำต๊ะโรก็ถึงแก่มรณกรรม พระเจ้ากาวิละจึงได้ให้สล่าทำหอ (ศาล) ไว้ ๒ หอ คือหอคำซึ่งสร้างไว้ที่หลังพระวิหาร (ต่อมาหอคำหลังนี้ได้หายสาบสูญไป) ส่วนอีกหอหนึ่งคือ หอพญาแสนหลวงซึ่งสร้างไว้ที่มุมกำแพงวัดด้านเหนือ คือริมศาลาบาตรใต้ต้นโพธิ์ พระเจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้านจึงได้กรุณาโปรดให้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดแสนหลวง” เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้แก่พญาแสนหลวง ผู้ออกแบบและดำเนินงานก่อสร้างวัดนี้ ส่วนศาลพญาแสนหลวงนั้นต่อมาได้นามว่า “ศาลเจ้าพ่อแสนหลวง” เพื่อเป็นที่สักการบูชาของประชาชน

แต่เดิมวัดนี้ไม่มีเจดีย์ ปัจจุบันนี้ได้สร้างพระเจดีย์เสร็จแล้ว….งดงามมาก!!

R0029841w

R0029822w

R0029829w

R0029837w

R0029845w

R0029847w

R0029838w

R0029823w

R0029849w

R0029827w

R0029830w

R0029825w

R0029832w

R0029833w

R0029831w

R0029851w

R0029852w

R0029853w

R0029855w

R0029861w

R0029862w

R0029860w

เพื่อน ๆ ผ่านไปอำเภอสารภี อย่าลืมแวะวัดแสนหลวงนะครับ!